สุขศึกษา

สุขศึกษา

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia)

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia)


โรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ

ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง คนไข้จึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติ และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี

ที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานที่แสดงชัดว่าโรคต่อมลูกหมากโตจะนำไปสู่โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่อย่างไรก็ตามอาการของความผิดปกติทั้งในต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีความคล้ายกัน และอาจเป็นไปได้ว่าภาวะต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากจะเกิดขึ้นในขณะเดียวกันได้ โรคต่อมลูกหมากโตนี้สามารถรักษาได้

สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร?
  • ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด
  • อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
  • ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที
  • ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ
  • รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
  • ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน
  • มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
  • การตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด ซึ่งรวมไปถึงการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก(Digital Rectal Examination) ซึ่งแพทย์จะใช้นิ้วสวมถุงมือสอดเข้าไปในทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมากเพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่
  • ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ
  • ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
  • วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
  • หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง (alpha-blockers)
  • รักษาด้วยความร้อน (การใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก) สามารถใช้เพื่อลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ ข้อดีของการรักษานี้ก็คือสามารถดำเนินการรักษาในขณะที่เป็นผู้ป่วยนอกได้ โดยจะมีการใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุจำนวนเล็กน้อยในการรักษา
  • รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้
  • ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา
การป้องกันการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต
  • ยังไม่มีทางป้องกันภาวะการเกิดต่อมลูกหมากโต

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

  เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

ไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติอะไร เพศ อายุเท่าใด คุณสามารถป้องกันความดันโลหิตสูง หรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่ต้องใช้ยาโดยวิธีการดังต่อไปนี้ที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยาหรือที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตารางแสดงวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและระดับความดันโลหิตที่ลด
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคำแนะนำความดันที่ลด
น้ำหนักรักษาน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายไม่เกิน 235-20 มม.ปรอท/ นน 10 กกที่ลด
รับประทานอาหารตามหลักของ DASHรับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ลดอาหารที่มัน และไขมันอิ่มตัว8-14 มม.ปรอท
งดเค็มปริมาณโซเดียมน้อยกว่า 100 mEg/L(เกลือน้อยกว่า 6 กรัม/วัน)2-8 มม.ปรอท
การออกกำลังกายออกกำลังกายวันละ 30นาทีอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์4-9 มม.ปรอท
ลดการดื่มสุราชายน้อยกว่า 2 หน่วย หญิงน้อยกว่า 1 หน่วย2-4
  1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
  2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
  3. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. เลือกอาหารมี่มีเกลือต่ำ
  5. ให้ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  6. งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
  7. จัดการเรื่องความเครียด
  8. รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้โดยการรับประทานอาหารลดความดันโลหิต
  9. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
10.การจะใช้ยาคุมกำเนิดต้องปรึกษาแพทย์   
หลักการดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงได้ ที่สำคัญคือต้องงดบุหรี่
1ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เมื่อน้ำหนักเพิ่มความดันก็จะเพิ่ม คนอ้วน จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ 2-6 เท่า วิธีการลดน้ำหนักที่ดีควรจะลดไม่เกินสัปดาห์ละ 1/2 กิโลกรัมโดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานน้อยร่วมกับการออกกำลังกาย วิธีการลดน้ำหนักมีดังนี้
  • เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ อาหารไขมันต่ำ จะให้พลังงานน้อย อาหารที่ให้พลังงานมากควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนย น้ำสลัด เนื้อติดมัน เนื้อติดหนัง นมสด ของทอดเช่นปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ไก่ทอด เค้ก คุกกี้ให้เลือกอาหารที่มีพลังงานน้อยเช่นใช้อบหรือเผาแทนการทอด เลือกไก่ไม่ติดหนัง ปลา ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด รับประทานผักให้มาก
  • เลือกอาหารที่มีแป้งและใยให้มาก 
  • ใช้จานใบเล็กและห้ามตักครั้งที่สอง ควรจดรายการอาหารที่รับประทานทุกครั้ง ไม่ควรรับประทานอาหารว่างขณะดูทีวี ไม่ควรงดอาหารมื้อหนึ่งแล้วชดเชยมื้อต่อไป
  • ให้เพิ่มออกกำลังกายเพิ่ม การออกกำลังกายหรือการทำงานบ้านจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน ทำให้น้ำหนักลดตารางข้างล่างจะแสดงพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกาย
พลังงานที่เผาผลาญ
กิจกรรม
พลังงานที่ใช้ใน 1 ชม.

ผู้ชาย
ผู้หญิง
ออกกำลังกายแบบเบา
300
240
ทำความสะอาดบ้าน


เล่นเบสบอล


ตีกอล์ฟ


ออกกำลังกายปานกลาง
460
370
เดินเร็วๆ


ทำสวน


ขี่จักรยาน


เต้นรำ


เล่นบาสเกตบอล


ออกกำลังกายมาก
730
580
วิ่งจ๊อกกิ้ง


เล่นฟุตบอล


ว่ายน้ำ


2ให้ร่างกายได้ใช้พลังงานให้มาก การออกกำลังกายนอกจากทำให้น้ำหนักลดแล้วยังลดไขมัน cholesterolในเลือด และเพิ่ม HDL นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ท่านผู้อ่านยังสามารถทำให้ร่างกายมีการออกกำลังอยู่ตลอดเวลา เช่นใช้บันไดแทนลิฟท จอดรถก่อนถึงที่ทำงานแล้วเดินต่อ ขี่จักรยานแทนการนั่งรถ ตัดหญ้า ทำสวน ไปเต้นรำเป็นต้น ผู้ป่วยสามารถออกกำลังได้เลยโดยที่ไม่ต้องปรึกษาแพทย ์นอกจากท่านจะมีอาการดังต่อไปน ี้ขณะออกกำลังกาย แน่นหน้าอก จะเป็นลมขณะออกกำลังกาย หายใจเหนื่อยเมื่อเริ่มออกกำลังกาย หรืออายุกลางคนโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรออกแบบ aerobic คือออกำลังกายแล้วร่างกายใช้ออกซิเจนเพื่อให้พลังงาน ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ2-5 ครั้งยิ่งออกกำลังกายมากจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้มาก มีรายงานว่าสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ 5-15 มิลิเมตรปรอท ตารางแสดงแนวทางการออกกำลังกาย
อัตราเต้นของหัวใจเป้าหมายตามเกณฑ์อายุ
  1. เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกันและลดความดันโลหิต ได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัมหรือ 1 ช้อนชา(เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลิกรัม) แต่แนะนำให้รับประทานเกลือ 1500 มิลิกรับเทียมเท่าปริมาณเกลือ 4 กรัมหรือ2/3 ช้อนชาท่านผู้อ่านไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือให้น้อยที่สุด   ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง  
  • หากท่านซื้ออาหารกระป๋อง ท่านต้องอ่านสลากอาหารเพื่อดูปริมาณสารอาหารเลือกที่มีเกลือต่ำ
  • รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร
  • ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง
  • อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง
  • เนื้อสัตว์ปรุงรสได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง
  • อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง
  • เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมากเช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู
  • อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดองผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอิสาน
  1. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ จากการศึกษาพบว่าปริมาณสุราที่ดื่มจะมีส่วนสัมพันธุ์กับระดับความดันโลหิต สำหรับผู้ที่ดื่มสุราปริมาณปานกลาง ระดับความดันโลหิตจะลดลงในช่วง 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะกลับสู่ปกติ สำหรับผู้ที่ดื่มสุราอย่างมาก (ประมาณห้าเท่าของที่แนะนำ) จะพบว่าระดับความดันโลหิตจะสูงหลังจากหยุดสุรา ดังนั้นจะพบว่าหลังจากดื่มสุรามากในวันหยุดจะมีความดันสูงในวันทำงาน การลดสุราจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงผู้ชายให้ดื่มไม่เกิน 2 drink(20–30 g ethanol per day) ผู้หญิงไม่เกิน 1 drink(10–20 g
    • ethanol per day)  
    • 1 drink เท่ากับ
      • วิสกี้ 45 มล.
      • ไวน์ไม่เกิน 150 มล..
      • เบียร์ไม่เกิน300 มล.

โรคอ้วน

โรคอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วน
คนเรารับประทานอาหารเข้าไปไม่ว่าจะเป็นประเภทแป้ง หรือโปรตีนหากพลังงานที่ได้รับเกินความต้องการ

ร่างกายก็จะสะสมอาหารส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน สะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน ดังนั้น คนที่อ้วนเกิดจากเรารับอาหารที่มีพลังงานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ไป สาเหตุจริงๆยังไม่ทราบแน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้

  • การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ จะให้น้ำหนักเกินโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูงซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน
  • ประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส sugars, fructose,น้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
  • ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงานได้มาก ดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ำหนักยาก
  • โรคต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย จะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน cortisol มากทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือร่างกายสร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต
  • จากยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic antidepressant,phenothiazine ยาลดความดัน beta-block ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด ยา steroid
  • กรรมพันธุ์ จะพบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม เช่นคนที่เป็นโรคขาด leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยังสมองทำให้เรารับอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่
  • วัฒนธรรมการดำรงชีวิตและอาหารซึ่งเห็นได้ว่าบางชาติจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากอาหารของชาตินั้นนิยมอาหารมันๆ
  • ความผิดปกติทางจิตใจทำให้รับประทานอาหารมาก เช่นบางคนเศร้า เครียด แล้วรับประทานอาหารเก่ง
  • การดำเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอำนวยความสะดวดมากมาย และขาดการออกกำลังกาย มีรถยนต์ มีเครื่องทุ่นแรง มีทีวีรายการดีๆให้ดู มีสื่อโฆษณาถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วนตั้งแต่ในวัยเด็ก
  • การดื่มสุรา
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วนในวัยรุ่น ชีวิตที่มีความสบาย ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดประเภท และไม่จำกัดปริมาณเหล่านี้ทำให้เกิดโรคอ้วน เมื่ออ้วนก็ทำให้ออกกำลังได้ไม่เต็มที่ พบว่าวัยรุ่นหรือเด็กที่มีน้ำหนักเกินมักจะเกิดโรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ น้ำหนักของผู้ชายจะเพิ่มจนคงที่เมื่ออายุประมาณ 50 ปี ส่วนผู้หญิงน้ำหนักจะเพิ่มจนอายุประมาณ 70 ปี
  • โรคอ้วนในเด็ก เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีช่วงที่เจริญเติบโตอยู่สองช่วงคือวัยเด็กและวัยรุ่น กรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนอให้แต่ละคนมีเซลล์ไขมันไม่เท่ากัน คนอ้วนจะมีเซลล์ไขมันมาก การอ้วนในเด็กจะมีปริมาณเซลล์ไขมันมากทำให้ลดน้ำหนักยาก สานโรคอ้วนในผู้ใหญ่เกิดจากเซลล์ไขมันมีขนาดใหญ่
  • การคำนวนโรคอ้วนในเด็ก
ทำไมเลิกบุหรี่จึงมีน้ำหนักเพิ่ม

nicotin ในบุหรี่จะกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร เมื่อหยุดสูบบุหรี่น้ำหนักจะขึ้นง่าย

คนทำงานเป็นกะมีโอกาสอ้วน

  • มีการศึกษาว่าคนงานที่ทำงานเป็นกะจะมีน้ำหนักเพิ่มง่ายเนื่องจากรับประทานอาหารมาก และพักผ่อนมาก

โรคตับ

โรคตับ

โรคตับ อวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งของร่างกายเรา อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา มีหน้าที่ในการผลิตน้ำดี เพื่อไปย่อยอาหารประเภทไขมัน และกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายของเรา นอกจากนี้ยังช่วยผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือดได้อีกด้วย ส่วนโรคเกี่ยวกับตับนั้นมีหลายชนิด ทั้งตับอักเสบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือจากสารพิษ กรรมพันธุ์ หรือภาวะภูมิแพ้ตนเอง ตับแข็งนั้นเกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อแข็งที่ทดแทนเซลล์ตับที่ตายไปแล้ว โดยมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส ภาวะพิษสุราเรื้อรัง หรือการที่ได้รับสารพิษต่างๆ ผู้ป่วยโรคตับนั้นมักจะไม่มีอาการที่ชัดเจน กว่าจะตรวจพบว่าเป็นโรคตับก็สายไปแล้ว

สารบัญ 
อาการของผู้ป่วยโรคตับ 
  ผู้ป่วย โรคตับแข็ง ในระยะแรก มักจะไม่มีอาการที่เห็นได้ชัดเจน อาจจะมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย จึงไม่ค่อยรู้สึกตัวว่ามีความผิดปกติใดๆที่ตับ แต่พอเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเกิดอาการของตับแข็ง คือ ผู้ป่วยก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง ท้องโตขึ้น ขาบวม คลื่นไส้ เบื่ออาหารและทำให้น้ำหนักลด อาจจะรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงขวาเล็กน้อยและมีอาการคันตามตัว  

สำหรับในผู้หญิงที่เป็น โรคตับแข็ง อาจจะมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรืออาจจะมีเสียงแหบแห้งคล้ายผู้ชาย
สำหรับ ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อตัว บางคนอาจจะสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอกหรือหน้าท้อง เป็นต้น
โรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคตับ 
1)  ตัวเหลือง ตาเหลือง เพราะตับไม่สามารถที่จะขับน้ำดีออกมาได้ 
2)   มีอาการคันตามร่างกาย เพราะมีน้ำดีสะสมอยู่ตามบริเวณผิวหนัง 
3)  เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ 
4)  ทำให้มีอาการบวมหลังเท้า แขนขา และท้อง เพราะตับนั้นจะไม่สามารถสร้างไข่ขาว (หรือโปรตีนในเลือด) ได้ 
5)   ทำให้เลือดออกได้ง่าย เพราะตับจะไม่สามารถสร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้ 
6)  อาจจะสูญเสียความสามารถเกี่ยวกับความจำหรือสติ เพราะจะเกิดการคั่งของของเสีย 
7)  ผู้ป่วยจะไวต่อยามากขึ้น ดังนั้นการให้ยากับผู้ป่วยโรคตับแข็ง จะต้องระวังการเกิดยาเกินขนาด เพราะตับจะไม่สามารถทำลายยาได้เลย แม้แต่การให้ยาให้ขนาดปกตินั้นก็ต้องระวังด้วย 
8)  ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือด เพราะตับแข็งทำให้ความดันในตับสูง จนทำให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารนั้นมีความดันสูง และถ้าหากมีความดันสูงมาก อาจจะทำให้หลอดเลือดดำแตกได้ 
9)  สามารถติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีภูมิคุ้มกันลดลง อาจจะเป็นท้องมานหรือไตวายได้ 
 สัญญาณบ่งบอกการเป็นโรคตับ
 โรคตับ
โรคตับ

1)  มีอาการเครียด ขี้หงุดหงิด อารมณ์ฉุนเฉียวและตกใจง่าย
2)  มีอาการปวดแน่นชายโครงเป็นบางครั้ง และมีอาการตึงเกร็งที่กล้ามเนื้อช่องท้องหรือปวดท้องน้อยบ่อย และรู้สึกร้อนวูบวาบที่ช่องอก
3)  มักจะนอนหลับยาก มักจะง่วงนอนตอนกลางวัน และมีอาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง
4)  จะรู้สึกว่ามีอะไรจุกอยู่ในคอหอย กลืนก็ไม่ลงหรือจะคายก็ไม่ออก และทำให้เบื่ออาหาร มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย
5)  มีผิวหน้าซีดเหลือง จะไม่มีเลือดฝาดและมีฝ้าบนใบหน้า
6)   บริเวณมุมปากและริมฝีปากจะหมองคล้ำ ส่วนลิ้นจะออกสีม่วงคล้ำ และขอบลิ้นจะมีรอยกดทับของฟัน
7)  มีอาการเจ็บหรือคัดเต้านม โดยจะเป็นหนักขึ้นช่วงก่อนจะมีประจำเดือนสำหรับผู้หญิง และสำหรับผู้ชายจะปวดหน่วงอัณฑะ
8)  จะรู้สึกหายใจไม่เต็มท้อง จึงต้องถอนหายใจบ่อยๆ
9)  มีอาการท้องร่วงหรืออุจจาระหยาบและไม่จับตัวเป็นก้อน
สาเหตุของการเกิดโรคตับมีหลายประการและที่พบบ่อย คือ 
1) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะการที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ จะทำให้เกิดความผิดปกติในการใช้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในตับ จึงทำให้เกิดภาวะตับอักเสบและเรื้อรังได้จนกลายเป็นโรคตับแข็ง และผู้หญิงจะเป็นโรคตับแข็งได้มากกว่าผู้ชาย
2)  การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซี จนทำให้ตับอักเสบเป็นเวลานานหลายปี ก่อนที่จะกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ไวรัสตับอักเสบบีและซีเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันทางเลือดและการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเป็นพาหะนั้นมักเกิดโดยไม่รู้ตัว
3) เกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนหรือไขมันในเลือดสูง
4) จากการรับประทานยาบางชนิด และทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ยาแก้ปวด     ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด
5) โรคทางพันธุกรรมบางโรคที่ทำให้เกิดตับแข็ง เช่น โรคทาลัสซีเมีย
6)  ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง จะทำให้เส้นเลือดคั่งที่ตับ และเลือดไหลเวียนในตับน้อยลง จึงทำให้เนื้อตับขาดภาวะออกซิเจนจนตายลง
7)  พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในเลือดอาจจะทำให้เกิดตับแข็ง
  ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะปรากฏอาการเริ่มแรกนั้นในช่วงอายุระหว่าง 40 - 60 ปี แต่ถ้าพบในคนอายุน้อยก็ มักจะมีสาเหตุจากตับอักเสบจากเชื้อไวรัส และมีอาการค่อนข้างรุนแรง
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคตับ 
1) หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ห้ามดื่มโดยเด็ดขาด 
2) ให้ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบจากไวรัสบี ซึ่งนิยมฉีดกันตั้งแต่แรกเกิด 
3) ต้องระมัดระวังการใช้ยาที่มีพิษต่อตับ 
 การปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคตับ
  โรคตับ      

เนื่องจากตับนั้นมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง รวมทั้งสร้างการทำลายและเผาผลาญสารต่างๆ ในร่างกายรวมทั้งอาหารด้วย และเมื่อผู้ป่วยมีตับแข็ง ตับจะสูญเสียหรืออาจจะมีความบกพร่องในการทำงาน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยและญาติที่จะต้องช่วยดูแลในการปฏิบัติของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ดังนี้
1) การรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยตับแข็งในระยะที่ตับยังสามารถทำงานได้ดี และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ และควรรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนประมาณวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งประมาณ 60 กรัมต่อวัน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะตับจะทำหน้าที่ย่อยไขมันได้น้อยลง และควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์  โดยใช้ไขมันพืชแทน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เพราะในอาหารมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบและอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการบวม อาการท้องมานเลวลง โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำให้รับประทานเกลือได้แต่ไม่เกินวันละ 2 กรัม เทียบเท่ากับเกลือป่นประมาณ เศษหนึ่งส่วนสามช้อนชาต่อวัน
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ชื้น เช่น พริกป่น ถั่วป่น เพราะเป็นแหล่งของสารอะฟลาท็อกซิน จะทำให้ตับทำงานมากขึ้น และทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับมากขึ้น
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สะอาด  อาหารที่เก็บค้างคืน อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ลวกและย่าง
2) หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  สำหรับผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว ควรหลีกจะเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุราทุกชนิด เพราะอาจจะทำให้โรคตับแย่ลง นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแตกของเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
3) ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยตับแข็งที่ตับยังสามารถทำงานได้ดีก็สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติเพียงแต่ไม่หักโหมจนเกินไป และควรพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ในกรณีที่ตับทำงานไม่ปกติแล้วควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น การวิ่งเหยาะๆ หรือการเดินเร็ว ถ้าหากรู้สึกเพลียก็ควรพัก และที่สำคัญควรต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุ เพราะผู้ป่วยตับแข็งอาจจะมีเกล็ดเลือดต่ำและมีการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เลือดออกง่ายและหยุดยาก
4) การใช้ยาและสารเคมี ผู้ป่วยตับแข็งควรจะหลีกเลี่ยงการรับประทานยาถ้าไม่จำเป็นและยาสมุนไพรต่างๆ เพราะยาหลายชนิดจะถูกทำลายที่ตับ และยาหลายชนิดเองก็อาจจะทำให้เกิดตับอักเสบ ดังนั้นการใช้ยาควรใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้และภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
5) การฉีดวัคซีน ผู้ป่วยตับแข็งนั้นควรตรวจเลือดดูว่าเคยมีการติดเชื้อไวรัสบีและไวรัสเอ หรือไม่ ถ้าไม่ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะถ้าเกิดว่าติดเชื้อตับอักเสบฉับพลันจากไวรัสเอ และไวรัสบีในผู้ป่วยตับแข็ง จะมีโอกาสในการเกิดตับวายและอาจเสียชีวิตได้สูง
6) การเฝ้าระวัง  ผู้ป่วยตับแข็งควรจะติดตามการดูแลรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด และควรจะมีการเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับ โดยวิธีการเจาะเลือดตรวจดูค่า AFP ซึ่งจะเป็น marker ของมะเร็งตับชนิดหนึ่งและการตรวจอัลตร้าซาวด์ดูตับทุก 6 เดือน และในกรณีที่ผู้ป่วยตับแข็งต้องได้รับการตรวจหรือการทำหัตถการต่างๆ เช่น การถอนฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะจะมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่ต้องเตรียมการผู้ป่วยเป็นพิเศษ
7) ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตตามอน ยังเป็นยาที่ปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้ป่วยตับแข็งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ มากกว่าคนปกติทั่วไป จึงควรรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอนได้ไม่เกิน 5 เม็ดต่อวัน และแนะนำให้รับประทาน ขนาด 500 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด แต่จะรับประทานซ้ำได้ 1 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง และในส่วนของยารักษาโรคตับที่แพทย์จัดให้นั้นควรรับประทานอย่างสม่ำเสมอ และยาบางชนิดเช่น ยาป้องกันเส้นเลือดโปร่งพองแตก แต่ถ้ารับประทานไม่สม่ำเสมอก็อาจจะมีผลเสียมากกว่า
8) รับประทานวิตามิน ผู้ป่วยตับแข็งนั้นมักจะขาดวิตามินหลายชนิด ดังนั้นควรจะรับประทานวิตามินเสริมร่วมด้วย ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรจะรับประทานวิตามินที่ละลายในไขมันเอง เช่น วิตามินเอ วิตามินอี เพราะวิตามินที่ละลายในไขมันนั้นถ้ารับประทานมากจนเกินไปก็จะมีการสะสมที่ตับ และอาจจะมีผลเสียต่อตับเอง และนอกจากนี้ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ขาดธาตุเหล็กก็ไม่ควรจะรับประทานเหล็กเสริมเข้าไป เพราะเหล็กจะทำให้เกิดการสร้างผังผืดในตับมากขึ้น

โรคกระเพาะ อาการโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะ อาการโรคกระเพาะอาหาร


โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร?

          จริง ๆ แล้วโรคนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า "โรคแผลในกระเพาะอาหาร" แต่คนส่วนใหญ่เรียกสั้น ๆ ว่า โรคกระเพาะอาหาร หรือ โรคกระเพาะ แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้ยังหมายถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก โรคกระเพาะอาหารอักเสบ และโรคลำไส้เล็กอักเสบอีกด้วย
 สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

          ต้องบอกว่าโรคกระเพาะอาหารมีกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อนมาก และเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ละสาเหตุจะทำให้เกิดภาวะที่มีกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากเกินไป จนไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

          1. กลุ่มโรคกระเพาะชนิดมีแผล อาจเป็นแผลตรงกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น สาเหตุอาจเกิดจาก

           การใช้ยาต้านการอักเสบบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน อินโดเมทาซิน นาโพรเซน ไพร็อกซิแคม ไดโคลฟีแนก ฯลฯ ซึ่งเป็นยาแก้ปวดต่าง ๆ หากใช้ติดต่อกันนาน อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ 

           ติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacterpylori)  หรือ เอชไพโลไร (H. pylori) ซึ่งติดต่อได้จากการกินอาหาร เชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในชั้นเมือกที่ปกคลุมผิวกระเพาะอาหาร แล้วสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่รอบ ๆ ตัวมัน และยังสร้างสารพิษทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหารได้ จึงทำให้เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร  อาจเรื้อรังถึงขั้นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ 

          2. กลุ่มโรคกระเพาะชนิดไม่มีแผล มีสาเหตุหลากหลาย เช่น 

          - การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา 
           -การสูบบุหรี่
           -การดื่มสุรา กาแฟ
           -ความเครียด
           -การรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
           -ภาวะกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาหลอดอาหาร 

          ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ 

 อาการโรคกระเพาะอาหาร เช็กดูหน่อย

          ลองสำรวจอาการกันดูว่าที่เราปวดท้องนั้นเป็นโรคกระเพาะอาหารแล้วหรือเปล่า

           ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว แต่บรรเทาได้ด้วยการทานอาหารหรือยาลดกรด แต่ในบางคนจะยิ่งปวดมากขึ้นหลังทานอาหาร โดยเฉพาะทานอาหารที่รสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด

           มักปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ มานานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลาย ๆ เดือน จึงกลับมาปวดอีก

           ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว

           บางคนอาจมีอาการกำเริบเวลากินยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ของมันๆ ของหวานๆ อาหารที่ย่อยยาก หรือกำเริบในช่วงที่กินอาหารผิดเวลาหรือปล่อยให้หิวนานๆ หรือเวลามีความเครียด
      
          ทั้งนี้ บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ มักมีอาการท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหารท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อ หรือช่วงเช้ามืดผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อยลง และน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย

          นอกจากนี้ แม้บางคนจะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม น้ำหนักตัวไม่ลด ไม่มีภาวะซีด แต่ในบางคนอาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวสีดำเหนียวคล้ายน้ำมันดิน หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
 1. ตับอักเสบ มีอาการอ่อนเพลีย จุกแน่นลิ้นปี่ ดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลือง) อาจมีอาการเบื่ออาหารร่วม ด้วย และอาจมีไข้คล้ายไข้หวัดนำมาก่อน

           2. ตับแข็ง มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ ดีซ่าน อาจมีประวัติดื่มสุราจัดมานาน

           3. นิ่วในถุงน้ำดี มีอาการปวดบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ตรงใต้ลิ้นปี่และใต้ชายโครงขวา หลังกิน อาหาร (มัน ๆ) เป็นบางมื้อบางวัน บางครั้งอาจ ปวดรุนแรงจนแทบเป็นลม นานครั้งละ 30 นาที อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

           4. ไส้ติ่งอักเสบระยะแรกเริ่ม มีอาการปวดรอบ ๆ สะดือเป็นพัก ๆ คล้ายท้องเสีย อาจเข้า ห้องน้ำบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก หรือถ่ายแบบท้องเสีย ปวดนานหลายชั่วโมง แล้วต่อมาจะย้ายมาปวดตรงท้องน้อยข้างขวา แตะถูกหรือขยับเขยื้อนตัวจะเจ็บ ต้องนอนนิ่ งๆ หากไม่รักษาจะปวดรุนแรงขึ้นนานข้ามวันข้ามคืน

           5. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีอาการจุกแน่นตรงลิ้นปี่ และปวดร้าวขึ้นไปที่คอ ขากรรไกร ไหล่ หรือต้นแขน นานครั้งละ 2-5 นาที มักมีอาการกำเริบ เวลาออกแรง เดินขึ้นบันได ทำอะไรรีบร้อน หลังกินข้าว อิ่ม หลังอาบน้ำเย็น มีอารมณ์ เครียด หรือขณะสูบบุหรี่ จะปวดนาน ๆ ครั้ง เวลามีเหตุกำเริบดังกล่าว บางคนอาจเข้าใจว่าเป็น เพียงโรคกระเพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการ กำเริบหลังกินข้าว ผู้ป่วยอาจมีประวัติสูบบุหรี่  จัด ขาดการออกกำลังกาย อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง หรือไขมันในเลือดสูง หรืออาจมีอายุมาก (ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป, หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป)

           6. มะเร็งตับ หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนัดลด จุกแน่นท้อง อาจมีคลื่นไส้อาเจียน ดีซ่าน อาเจียน เป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ หรือหน้าตาซีดเซียวร่วมด้วย

          ทั้งนี้ แพทย์จะซักประวัติและวินิจฉัย หากทานยารักษาโรคกระเพาะแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัย โดยอาจให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม เอกซ์เรย์ หรือใช้กล้องส่องดูว่ามีแผลในกระเพาะอาหารหรือไม่ หากพบเป็นแผล จะนำเนื้อเยื่อไปตรวจพิสูจน์ว่าเป็นเชื้อเอชไพโลไรหรือไม่ เพื่อจะได้รักษาต่อไป

 วิธีรักษาโรคกระเพาะ

          เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะ แพทย์จะให้กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหาร ติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ รวมทั้งให้ยากำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อจากการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร 

          แต่หากสาเหตุเกิดจากโรคกระเพาะชนิดไม่มีแผล และมักเป็น ๆ หาย ๆ แพทย์จะให้คำแนะนำในการหลีกเลี่ยงอาหารและสิ่งที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น เลี่ยงของเผ็ด ของมัน เลิกสูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมทั้งแนะนำให้ผ่อนคลายความเครียด ออกกำลังกาย 

          ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย อาหารอ่อน ๆ ในช่วงทำการรักษา จนเมื่อมีอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อย ๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติได้

          สิ่งที่ต้องระวังก็คือ โรคกระเพาะอาหารนี้มักเป็นเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง หรือยังไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารให้หมดไปได้ 

 ภาวะแทรกซ้อนโรคกระเพาะอาหาร

          ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปวดท้องรุนแรง เบื่ออาหาร มีภาวะเลือดออกในช่องท้องทำให้ถ่ายเป็นเลือดสด หรือสีดำเหลว กระเพาะลำไส้ตีบ กระเพาะทะลุ และหากเกิดเชื้อเอชไพโลไร อาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารตามมาได้

 วิธีป้องกันโรคกระเพาะอาหาร

          ไม่อยากปวดท้องโรคกระเพาะ หรือไม่อยากกลับมาเป็นอีก ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันตามนี้้เลย

           รับประทานอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่ให้บ่อยมื้อ ไม่ควรรับประทานจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ

           ทานอาหารให้ตรงเวลา หากหิวก่อนเวลาให้ดื่มน้ำ

           หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม กาแฟ ของทอด ของมัน และของขบเคี้ยว เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ 

           งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีส่วนกระตุ้นให้กรดในกระเพาะหลั่งออกมา 

           งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบทุกชนิด ถ้าจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์
           อย่าเครียด ให้หาวิธีผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ

           อย่านอนดึก พอยิ่งดึกเราก็จะยิ่งหิว เพราะกรดถูกหลั่งออกมาในท้องมากเกินไป ดังนั้น ถ้าหิวเมื่อไรก็ให้เข้านอนไปเลย อย่าทานอาหาร

           ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเลือกการเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เพื่อขจัดความเครียด และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงด้วย

โรคเหน็บชา

 โรคเหน็บชา
ผลจากการขาดวิตามินบี๑
          วิตามินบี๑ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตโปรตีน และไขมัน เกิดเป็นกำลังงาน ทำให้สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ช่วยในการสังเคราะห์สารเคมี ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกรดนิวคลิอิกและกรดไขมัน และมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี๑ จะทำให้การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจากปกติ และถ้ารุนแรงมากขึ้น จะมีอาการแสดงของโรคเหน็บชา  ซึ่งแตกต่างกันได้ตามอายุของผู้ป่วย

          โรคเหน็บชาในเด็กเล็ก

          ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด  คือ ๒-๖ เดือน มักเป็นเด็กที่กินนมแม่ และแม่ขาดวิตามินบี๑  เด็กอาจมีอาการเด่นทางหัวใจ  คือ หอบ เหนื่อย หัวใจเต้นเร็วและเขียว ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะถึงแก่กรรมได้ภายใน ๒-๓ ชั่วโมง เด็กอาจมีอาการเด่นทางระบบประสาท  คือ เสียงแหบ เวลาร้องไม่มีเสียง อาจมีหนังตาบนตกกลอกลูกตาไปมา มือเท้าเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ

          โรคเหน็บชาในเด็กโตหรือผู้ใหญ่

          เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเหน็บชา จะมีอาการชาที่ปลายมือ  และปลายเท้า และเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อของแขนและขาไม่มีกำลัง  ผู้ป่วยบางราย นอกจากมีอาการชาแล้ว ยังมีอาการบวมร่วมด้วย ถ้าเป็นมากจะมีหัวใจโตและเต้นเร็ว  หอบ  เหนื่อยและเสียชิวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

          สาเหตุของโรคเหน็บชา

          สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นโรคเหน็บชาเกิดจากการกินอาหารที่ให้วิตามินบี๑ ไม่พอ ชาวไทยส่วนใหญ่กินข้าวที่ขัดสีแล้วเป็นอาหารหลัก ข้าวที่ขัดสีมีวิตามินบี๑ อยู่น้อย  มิหนำซ้ำการซาวข้าว และหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ จะทำให้สูญเสียวิตามินบี๑ ไปอีกส่วนอาหารที่ให้วิตามินบี๑ มาก คือ เนื้อสัตว์และถั่วเมล็ดแห้ง  ก็กินน้อย  นอกจากนี้ ถ้ากินสารทำลายวิตามิน
บี๑ เป็นประจำ ยิ่งซ้ำเติมให้เป็นโรคเหน็บชาได้ไวขึ้นสารทำลายวิตามินบี๑ นี้ แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ พวกที่ไม่ทนต่อความร้อน ได้แก่ เอนไซม์ไทอะมิเนส (thaiaminase) ซึ่งมีอยู่ในปลาน้ำจืด หอยลายและปลาร้าส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นสารที่ทนต่อความร้อน พบได้ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็มหลายชนิด ใบชา ใบเมี่ยงหมาก และผักบางชนิดเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต  หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมลูก ผู้ใช้กำลังงานมาก เช่น นักกีฬา กรรมกร ชาวนา ภาวะที่เกิดโรคติดเชื้อ ภาวะที่มีไข้สูง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ล้วนมีความต้องการวิตามินบี๑ มากขึ้น จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชาได้ง่าย  นอกจากนี้ผู้ดื่มเหล้าเป็นประจำจะขาดวิตามินบี๑ ได้ง่ายเช่นกัน

          การป้องกัน

          โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง  เช่น เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ  ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงให้น้อยลง และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้สุกเสียก่อน  เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง  ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้

โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ เกิดจากอะไร วิธีป้องกันและรักษาโรคเก๊าท์

สมัยก่อนหลายคนเชื่อว่า คำว่าเก๊าท์ เป็นชื่อโรคที่คนจีนตั้ง จริงๆแล้วไม่ใช่ เก๊าท์นั้นมาจากภาษาลาติน แพทย์ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่าเก๊าท์ ภาษาอังกฤษ Gout นายแพทย์ สงัด วงศ์สิโรจน์กุล จากโรงพยาบาลมิชชั่น ผู้เชี่ยวชาญโรคนี้ เป็นผู้มาให้ความรู้ โรคเก๊าท์ในในรายการสบายดีคลีนิก ออกอากาศเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2557
โรคเก๊าท ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะคนเอเชียเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วโลก โรคเก๊าท์ เริ่มเป็นกับผู้สูงอายุ ถ้าเป็นผู้ชายจะเกิดขึ้นได้เร็วกกว่า ประมาณอายุ 40 ปี สำหรับผู้หญิง ที่พบได้บ่อยในช่วงหมดประจำเดือน อายุประมาณ 50 ปี ขึ้นไป โรคเก๊าท์มักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

โรคเก๊าท์ เกิดจากอะไร?

นายแพทย์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคกรรมสร้าง สาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากการกรดยูริกสูงในเลือด ตกผลึก ตามข้อกระดูก, เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และไต หลายๆคนมีความเชื่อว่า การทานอาหารเนื้อไก่ หรือเครื่องในไก่ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์ ทางคุณหมอสงัด เผยในรายการว่า โรคนี้ยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้แน่ชัด หากโรคนี้มันจะเกิดกับใครก็สามารถเกิดขึ้นได้ อาหารที่มีกรดยูริกเยอะ ก็จะมีผลไปกระตุ้นให้เกิดโรคเก๊าท์ได้ง่าย

อาหารที่มีกรดยูริก กระตุ้นโรคเก๊าท์

อาหารจำพวก เครื่องในสัตว์ปีก, ปลาอินทรีย์, ถั่วแดง, ถั่วดำ, ผักชะอม, หน่อไม้, ผักประเภทยอดๆของพืชเกือบทุกชนิด สรุปอีกข้อได้ว่าโรคเก๊าท์ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกินของมนุษย์เราด้วย

วิธีการป้องกันโรคเก๊าท์

เมื่อรู้ว่าเป็นเก๊าท์แล้ว ต้องระมัดระวังอย่าให้เก๊าท์กำเริบได้ ระวังโดยการเลือกก่อนทานอาหารหรืออื่ม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกดังกล่าวข้างต้น และสิ่งสำคัญเครื่องดื่มจำพวกเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮลควรหลีกเหลี่ยง เพราะจะกระตุ้นกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น

วิธีการรักษาโรคเก๊าท์

พบแพทย์ เพื่อรับยาแก้การอักเสบของข้อ (แต่ยานี้กัดกระเพาะ ควรปรึกษาหมอก่อนใช้) การฉีดยาเข้าข้อ เป็นอีกวิธีที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นเก๊าท์

โรคแทรกซ้อนจากเก๊าท์

ในกรณีที่ตกผลึกตามข้อจนปูดขึ้นมา อาจมีปัญหาทำให้ไปกดทับเส้นประสาท บางครั้งอาจทำให้ปวดหรืออักเสบ หรืออาจจะทำให้แผลฉีกขาด การผัดไม่ได้ช่วยในเรื่องนี้ โรคเก๊าท์ไม่มีการผ่าตัด


โรคหลอดเลือดหัวใจ


โรคหลอดเลือดหัวใจ

(อังกฤษ: Cardiovascular disease) (หรือเรียกว่าโรคหัวใจ) เป็นชั้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ (อังกฤษ: cardio), หรือหลอดเลือด(หลอดเลือดแดง, หลอดเลือดฝอยและหลอดเลือดดำ) (อังกฤษ: vascular) หรือทั้งสองอย่าง[1]

โรคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย[2]. สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความหลากหลาย แต่หลอดเลือดแดงแข็ง, ไขมันเกาะจับเส้นโลหิต, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคหลอดเลือดแดงตีบ, ผนังของหลอดเลือดหนาและตีบและ/หรือความดันโลหิตสูงถูกพบมากที่สุด นอกจากนี้ ด้วยอายุที่สูงขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและโครงสร้างจำนวนมากได้เปลี่ยนแปลงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจและนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดแม้ในบุคคลที่ไม่มีอาการด้านสุขภาพ[3]

แม้ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก, แต่ตั้งแต่ปี 1970s อัตราการตายของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ลดลงในหลายประเทศที่มีรายได้สูง[4][5]. ในเวลาเดียวกัน การเสียชีวิตโรคหัวใจและหลอดเลือดและผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ[6]. แม้ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมักจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ, พงศาวดารของโรคหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแดงแข็ง, เริ่มต้นในชีวิตในวัยเด็ก, ทำให้ความพยายามในการป้องกันเบื้องต้นมีความจำเป็นจากวัยเด็ก[7]. เพราะฉะนั้น จึงให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นในการป้องกันหลอดเลือดแข็งหรือตีบตันโดยการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยง, เช่นโดยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ, การออกกำลังกาย, และการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่


โรคไต

โรคไต หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่
โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง
โรคไตอักเสบเนโฟรติก
โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)
อาการ
ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ
ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่
การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ
การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่
สาเหตุ
เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
คำแนะนำ
กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมาก ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น
โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด จำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้น ให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียง กับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหาร ที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีน เพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน

กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน ด้วยการจำกัดอาหาร ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของ การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสีย ต่อระบบกระดูกดังกล่าว
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม เช่น เนื้อเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋องข้างต้น

ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรี ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน